โดยจากภาวะเบื้องต้นนั้น จะมี 2 แบบด้วยกันคือ แบบแรกคือภาวะอุณหภูมิกายสูงในทารกแรกเกิดและแบบที่สองคือภาวะตัวเย็นในทารกแรกเกิดหรือต่ำไปนั่นเอง เรามาดูและรู้จักกันในแต่ละแบบกันเลย
1.1 ภาวะอุณหภูมิกายสูงในทารกแรกเกิดนั้น คือเด็กทารกมีอุณหภูมิทวารหนักเกิน 37.5°c
สาเหตุหลักๆ ก็คือ เกิดจากการที่เด็กทารกได้รับการติดเชื้อจากจากการที่ทารกนั้นอยู่ในอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมที่ร้อนไป ทารกได้รับการสวมเสื้อและห่อผ้า หรือห่อผ้าตลอดเวลา
อาการของทารกที่อยู่ในภาวะนี้ มีดังต่อไปนี้ ในช่วงของระยะแรกทารกจะมีอาการหงุดหงิด และเมื่ออุณหภูมิมีมากขึ้นหรือร้อนขึ้นนั้นเอง จะส่งผลให้ทารกมีการเคลื่อนตัวและเคลื่อนไหวน้อยลง และส่งผลให้มีการหายใจเร็วและแรง หรือหยุดหายใจไปเลย อันตรายมาก
ดังนั้นแล้วการดูแล ควรจะเช็ดตัวด้วยน้ำที่มีอุณหภูมิ 35°c และเช็ดตัวจนกว่าเด็กทารกจะมีอุณหภูมิกายปกติและอย่าเพิ่งนิ่งนอนใจไป เพราะว่าเมื่ออุณหภูมิลดลงเป็นปกติแล้ว ควรจะไปพบแพทย์
1.2 ภาวะตัวเย็นในทารกแรกเกิดหรือต่ำ นั่นก็หมายถึงว่า อุณหภูมิทวารหนักของทารกนั้นมีอุณหภูมิต่ำกว่า 36.5°c
สาเหตุของการที่ทารกจะอยู่ในช่วงของภาวะนี้ก็คือ มีสาเหตุมาจากการปรับอุณหภูมิห้องไม่ว่าจะเป็นห้องคลอด หรือห้องเด็กอ่อนที่ทารกอยู่ต่ำเกิน และแน่นอนว่า ภาวะนี้นั้นจะสามารถพบได้บ่อยในช่วงที่อากาศหนาวหรือเย็นนั้นเอง
โดยหากทารกของคุณตกอยู่ในภาวะนี้ จะมีอาการดังนี้ เมื่อเราจับบริเวณมือและเท้าของทารกจะเย็น และตัวซีด ผิวหนังลายจากเส้นเลือดขยายตัว ซึม ดูดนมช้า ดูดนมน้อยลงหรือไม่ดูดนม อาเจียน ท้องอืด น้ำหนักไม่ขึ้น หรือน้ำหนักลดลง
และเมื่อทารกของท่านอยู่ในภาวะนี้นั้น การดูแลที่ดีที่สุดคือ การให้ความอบอุ่นแก่ลูกน้อย จนมีอุณหภูมิปกติ และสามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ
ในส่วนของปัญหานี้ ถ้าผู้ปกครองไม่อยากให้เกิดกับลูกน้อยของท่านนั้น มีวิธีการป้องกันคือ เริ่มจากคุณพ่อคุณแม่ที่เลี้ยงดูทารกต้องทำการปรับอุณหภูมิห้องให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และที่สำคัญควรระวังอย่าให้มีลมที่มาจากธรรมชาติ ที่เครื่องทำความเย็นต่างๆพัดผ่านบริเวณที่ทารกนอน อีกทั้ง ในหน้าร้อน ควรจะหาที่ที่ร้อนน้อยที่สุดให้ทารกด้วยเช่นกัน และที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการห่มผ้าห่ม และควรวัดอุณหภูมิในทารกด้วยเป็นประจำ เพื่อการป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ